ช้างพัทลุงยุคสุดท้าย

ช้างพัทลุงยุคสุดท้าย

 

ชื่อเมืองพัทลุงปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา โดยคำว่าพัทลุงน่าจะหมายถึง “เสาตะลุงล่ามช้าง”สอดคล้องกับตำนานนางเลือดขาวที่กล่าวถึงหน้าที่ในการเลี้ยงช้างของผู้คนแถบนี้มาอย่างยาวนาน

 

ในหน้าประวัติศาสตร์ ช้างถือเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างบ้านแปงเมืองมาทุกยุคสมัย ส่วนในระดับท้องถิ่น ช้างถือเป็นกำลังหลักในการประกอบอาชีพ ช่วยเปิดพื้นที่ทำกิน ชักลากไม้ โดยเฉพาะในยุคเปิดป่าค้าไม้นับแต่หลังสงครามมหาเอเชียบูรพาจวบจนถึงยุคปิดป่าหรือเมื่อราว 30 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นยุคที่ช้างมีบทบาทในกิจการป่าไม้ มีการจับช้างป่าเพื่อนำมาฝึกและใช้งานอย่างกว้างขวาง

 

ภาพวาดช้างเมืองนครศรีธรรมราชที่กำลังถูกใช้งาน (ที่มา : หนังสือห้าปีในสยาม)
.

 

ปัจจุบัน ช้างถูกใช้ในกิจการชักลากไม้ในสวนยางเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกส่งต่อไปยังโรงงานแปรรูป แต่งานเหล่านี้กลับค่อยๆ ปิดตัวลง เช่นเดียวกับจำนวนช้างป่าและช้างเลี้ยงที่ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งอาจเพราะผืนป่าซึ่งเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารสำคัญของช้างเหลือน้อยเต็มที

 

สิ่งเหล่านี้นอกจากจะส่งผลต่อการใกล้สูญพันธุ์ของช้างในพัทลุงแล้ว อาชีพควาญช้างที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และอยู่คู่กับช้างมาอย่างยาวนานก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย แม้ทุกวันนี้จะมีการนำช้างแก่ที่ไม่สามารถใช้แรงงานได้ เข้าสู่ปางช้างเพื่อใช้ในการท่องเที่ยวเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับช้างบางส่วนอยู่บ้าง แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อย ปัญหาช้างและควาญช้างตกงานจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังเร่งด่วน

 

ทำความรู้จัก ช.ช้าง เมืองพัทลุง ให้มากขึ้นอีกนิด ได้ในบทความ “ช้างพัทลุงยุคสุดท้าย” โดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง ตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ ฉบับ 44.3 (เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2561) "ไชยบุรี : ปราการที่แข็งแกร่งของพัทลุง"

 

 

ดูสารบัญ คลิก  http://www.muangboranjournal.com/bookpost/41

รายละเอียดการสั่งซื้อ / สมัครสมาชิก คลิก  http://www.muangboranjournal.com/สมัครสมาชิก

 


กองบรรณาธิการ

"วารสารเมืองโบราณ" นิยามไทย เข้าใจถิ่น